เอกสารที่ใช้ในการขออนุญาตมีใช้วิทยุสื่อสาร กสทช.


เอกสารสำหรับขออนุญาตมีใช้วิทยุสื่อสารทั่วไป

เอกสารสำหรับขออนุญาตมีใช้วิทยุสื่อสารสำหรับวิทยุสมัครเล่น

เอกสารสำหรับขออนุญาตทำบัตรวิทยุสมัครเล่น

เอกสารสำหรับขออนุญาตติดตั้งสถานีี /ขึ้นเสาสูง

ขั้นตอนการติดต่อขอใบอนุญาตของบริษัทฯ

กฎหมายเกี่ยวกับการใช้วิทยุสื่อสารทุกประเภท

 

  วิทยุสื่อสารเครื่องแดง CB ความถี่245 MHz.

        เป็นวิทยุสื่อสารความถี่่ประชาชนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด อยู่ในย่าน VHF ช่วงสูง
คุณสมบัติค่อนไปทางความถี่UHFนั่นความความยาวคลื่นน้อย ทำให้ลักษณะการกระจาย
คลื่นเป็นเส้นตรงมากกว่า เมื่อพบสิ่งกีดขวางจะสะท้อนและหักเหได้น้อยกว่า   สายอากาศ
มีขนาดเล็ก มีพื้นที่รับสัญญาณน้อยลง จึงทำให้ติดต่อระยะทางไกลได้ยากกว่าย่าน VHF
ในขณะเดียวกันก็เป็นจุดเด่น  ด้วยสายอากาศเล็กและเบาเมื่อรับสัญญาณได้  ก็จะได้สัญ
ญาณที่ชัดเจนกว่า(เพราะระยะทางใกล้กว่า) อีกทั้งสามารถใช้โทนโค้ดและโทน DTMF
สำหรับการเลือกติดต่อ เลือกรับฟังได้ ทำให้ 80 ช่องความถี่นี้สามารถแบ่งปันกันใช้ได้
มากขึ้น ตามหลักการของกิจการวิทยุความถี่ประชาชน

 วิทยุสื่อสารย่านนี้มีผู้ใช้งานมากมาย แบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ
     1)  ประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้ติดต่อพูดคุย หามิตร
     2)  ประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้ประสานงานกันในครอบครัว
     3)  องค์การทางธุรกิจ หรือโรงงาน
     4)  องค์กรอาสาสมัครต่างๆ

 เครื่องวิทยุุสื่อสารซีบี(ฺCB) ความถี่ 245 MHz. แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

       1)   เครื่องติดตั้งในรถยนต์ / ประจำที่ กำลังส่ง 10 วัตต์ ต้องมีใบอนุญาตมีและใช้ได้
้ตลอดชีพ 500 บาท(ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)    และต้องมีใบอนุญาตตั้งสถานี1,000 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทั้งตั้งสถานีในรถยนต์และที่บ้าน
       2)  เครื่องวิทยุมือถือ กำลังส่ง 5 วัตต์ ต้องมีใบอนุญาตมีและใช้ตลอดชีพจำนวน 500 บาท(ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
       3)   เครื่องวิทยุมือถือ กำลังส่ง 0.5 วัตต์ ไม่ต้องขอใบอนุญาต

 

วิทยุสื่อสารเครื่องสีเหลือง 78 MHz.
 เป็นวิทยุสื่อสารความถี่ประชาชนที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก อยู่ในย่านความถี่ VHF ช่วงต่ำจึงมีคุณสมบัติค่อนไปทางความถี่ HF นั่นคือเป็นได้ทั้งเส้นตรงและบางครั้งก็สะท้อน
ชั้นบรรยากาศ สายอากาศที่มีขนาดใหญ่ สามารถใช้โทนโค้ดและโทน DTMFสำหรับการเ
ลือกติดต่อ เลือกรับฟังได้เช่นกัน

      วิทยุสื่อสารย่านนี้มีผุ้ใช้งานไม่มากนักส่วนมากต้องการใช้ประสานงานและต้องการ
เลี่ยงความหนาแน่นของย่าน 245 MHz. ปัจจุบันมีจำหน่ายอยู่ 2 ประเภทคือ

      เครื่องติดตั้งในรถยนต์ / ประจำที่ กำลังส่ง 10 วัตต์ ต้องมีใบอนุญาตมีและใช้ตลอด
ชีพ500 บาท และใบอนุญาตตั้งสถานี 1,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม vat 7%)

      เครื่องวิทยุสื่อสารมือถือ กำลังส่ง 5 วัตต์ ต้องมีใบอนุญาตมีและใช้ตลอดชีพ 500 บาท

 

วิทยุสื่อสารทางทะเล
    ความถี่วิทยุสื่อสารทางทะเลแบ่งออกเป็น 3 ย่าน ความถี่ได้แก่ 2-25 MHz., 27 MHz.
และ156-162.5 MHz.

   ย่าน 2-25 MHz.นั้น ความถี่ฉุกเฉินได้แก่ 2182 kHz.ความถี่รับฟังข่าวอากาศ 6765 KHz
และความถี่ที่กองทัพเรือไทยให้เรือเฝ้าฟังได้แก่ สำหรับเรือประมงที่มีเครื่องรับ-ส่งวิทยุุ
ระบบHF ซิงเกิลไซค์แบนด์(วิทยุใหญ่) ใช้ในเรือให้ใช้ความถี่ 8249 KHz. (USB)

    ย่านความถี่ 156-162.5 MHz. (มดขาว/มดเหลือง) ใช้ติดต่อกันในเรือและการนำร่อง

    ย่านCB 27 MHz. (มดดำ)   เป็นย่านเรือประมงในประเทศแถบนี้นิยมมากที่สุด เนื่องจาก
หาง่ายราคาถูกและมีประสิทธิภาพดี   จนกระทั่งทางราชการต้องยินยอมให้ใช้เพื่อการประ
มงเป็นวัตถุประสงค์หลักและอนุญาตให้ตั้งสถานีเฉพาะเกี่ยวกับการประมงเท่านั้นเราจึงเห็น
เรือประมงมีสายอากาศยอดนิยมติดอยู่เกือบทุกลำ

    วิทยุสื่อสารในย่านนี้อยู่ในย่าน HF ความยาวคลื่น 11 เมตร ความถี่ 26.105-27.985 MHz. ผสมคลื่นแบบ AM หรือ SSB กระจายคลื่นแบบสะท้อนท้องฟ้า เหมาะสำหรับการสื่อสารใน
ระยะไกล อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะเรือประมงซึ่งเป็น "เรือที่ใช้งานในทะเล ที่มีใบอนุญาตใช้
เรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำสยาม" ไม่อนุญาตให้ตั้้งสถานีบนบกยกเว้นศูนย์หรือสถานีชายฝั่ง นิยมใช้เครื่องยี่ห้อSuper Star SS-2400 ซึ่งมีทั้งหมด 240 ช่อง แบ่งเป็น 6 กลุ่มความถี่ดังนี้

A : 26.065- 26.505 MHz.
B: 26.515 - 26.955 MHz.
C: 26.965 - 27.405 MHz.
D : 27.415 - 27.855 MHz.
E : 27.865 - 28.305 MHz.
F : 28.315 - 28.755 MHz.


          ทางราชการ โดยศูนย์/สถานีวิทยุประมงชายฝั่ง จะเฝ้าฟังช่อง 21C(AM)ความถี่27.215MHz.ตลอดเวลา 24 ชม.ถือเป็นช่องสำหรับแจ้งเหตุและรับฟังประกาศข่าวสาร ต่อมาทางกองทัพเรือได้แสวงหาความร่วมมือจากชาวประมงค ในการแจ้งเบาะแสต่างๆ และเพื่อให้กองทัพเรือสามารถออกปฏิบัติการช่วยเหลือเรือประมงในยามฉุกเฉิน หรือร่วมมือกับเรือประมงในการบรรเทาภัยพิบัติต่างๆ กองทัพเรือจึงได้ตั้งชมรมวิทยุซีบีเรือประมง   ได้ชื่อว่าชมรมมดดำ และได้กำหนการใช้ความถี่ดังนี้


สถานีวิทยุบนฝั่งและเรือรบที่ปฏิบัติการในทะเลของกองทัพเรือจะเฝ้าฟังการติดต่อสื่อสาร
ทางวิทยุของเรือประมงตลอดเวลา 24 ชม. ที่ความถี่ 21C เช่นเดียวกับสถานีประมงชายฝั่ง

เมื่อเรือออกทะเล ให้เปิดเครื่องรับวิทยุมดดำรับฟังตลอดเวลาโดยใช้ช่อง 21C เมื่อต้องการ
จะติดต่อกัน หรือใช้วิทยุสื่อสารก็ให้เปลี่ยนไปใช้ช่องที่ได้นัดหมายกัน เรียบร้อยแล้วให้กลับ
มาเฝ้าฟังรับข่าวสารทางช่อง 21C ตามเดิม

เมื่อมีเหตุการณ์หรือภัยพิบัติเกิดขึ้น ให้เปลี่ยนไปใช้ช่อง 11C ทันที แล้วรายงานให้เรือรบ
หรือศูนย์วิทยุประมงทราบ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

ความถี่สาธารณกุศล
กสทช. กำหนดให้ใช้ความถี่วิทยุ 168.275  เป็นช่องเรียกขาน ความถี่วิทยุ 168.475 และ
168.775 168.275 MHz. เป็นช่องใช้งานร่วมกันของมูลนิธิหรือสมาคมต่างๆ โดยให้มูลนิ
ธิในแต่ละจังหวัดที่เป็นผู้ขออนุญาตขยายข่ายโดยทำหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่าย และสถานีของมูลนิธิอื่นๆ เป็นลูกข่ายและให้อยู่ในการกำกับดูแลของมูลนิธิแม่ข่าย
การใช้ความถี่ของมูลนิธินั้นต้องมีค่าตอบแทนการใช้ความถี่ เช่นเดียวกับความถี่เพื่อการ
ประสานงานด้านการรักษาพยาบาล   โดยคิดคำตอบแทนการใช้ความถี่เป็นรายปีตามจำ
นวนเครื่องตัวลูก เครื่องละ 1600 บาท ซึ่งเท่ากับร้อยละ 25 ของอัตราทั่วไป
ให้ใช้เฉพาะเครื่องวิทยุคมนาคมประเภทที่ 2 คือ เครื่องที่ผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้ความ
ถี่อื่นนอกจากความถี่ที่มีการโปรแกรมไว้แล้ว
ความถี่ของกระทรวงมหาดไทย
ความถี่ อปพร./พสปช. - อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน และไทยอาสาป้องกันชาติ คืออา
สาสมัครเพียงสององค์กรที่มีการรับรองตามกฎหมาย และมีการดูแลในระดับหนึ่ง ชมรมฯ
ขอสนับสนุนให้สมาชิกเข้ารับการอบรม อป.พร. หากมีโอกาสเพราะจะได้รับความรู้ที่เป็น
ประโยชน์ทั้งต่อตัวเอง ต่อครอบครัวและต่อชุมชน อาสาสมัครทั้งสองนี้สามารถเข้ากับรับ
การอบรมการใช้วิทยุสังเคราะห์ความถี่ประเภทสอง และขอซื้อวิทยุสังเคราะห์ความถี่ประ
เภทสองและขอซื้อวิทยุุใช้งานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากได้รับอนุญาตจากทาง
ราชการโดยความถี่ประสานงาน อป.พร. คือ 162.800 MHz.
ความถี่เทศบาล มี 10 ความถี่ ถือว่าเป็นความถี่สำหรับการบริหารงานการปกครองส่วน
ถิ่นการเปิดรับสมาชิกหรือจัดอบรมขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละองค์กร

วิทยุราชการ
  ความถี่ราชการมีหลายย่านทั้งย่าน  UHF และ VHF สำหรับความถี่ราชการนั้นมีการควบ
คุมอย่างเข้มงวด โดยกฎหมายไม่เปิดช่องให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปใช้ได้กดครีย์เข้าไปใน
ย่านวิทยุของทางราชการ อาจถูกถือว่าเป็นการรบกวนโดยเจตนา และดังที่กล่าวมาแล้วว่า
หัวหน้าสวนราชการไม่มีสิทธิ์อนุญาตให้เราใช้ความถี่ ยกเว้นเรามีคุณสมบัติพร้อมและทาง
ราชการนั้นได้ทำระเบียบว่าด้วยการอนุญาต เช่น ระเบียบกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น
วิทยุชุมชน
     เป็นการสื่อสารทางเดียว แต่สามารถกระจายข่าวถึงชุมชนได้อย่างรวดเร็วและใกล้ชิด
ข่าวสารที่จะส่งผ่านช่องทางนี้จะต้องระมัดระวังทั้งความถูกต้องชัดเจน  และป้องกันไม่ให้
เกิดความตื่นตระหนกหากไม่จำเป็นจริงๆ สมาชิกไม่ควรใช้ช่องทางนี้โดยตรง สมาชิกไม่
ควรใช้ช่องทางนี้โดยตรง ควรประสานงานโดยผ่านศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

 

 

    วิทยุสื่อสารเครื่องแดง 245 MHz.

        เป็นวิทยุสื่อสารความถี่่ประชาชนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด อยู่ในย่าน VHF ช่วงสูง

คุณสมบัติค่อนไปทางความถี่UHFนั่นความความยาวคลื่นน้อย ทำให้ลักษณะการกระจาย

คลื่นเป็นเส้นตรงมากกว่า เมื่อพบสิ่งกีดขวางจะสะท้อนและหักเหได้น้อยกว่า   สายอากาศ

มีขนาดเล็ก มีพื้นที่รับสัญญาณน้อยลง จึงทำให้ติดต่อระยะทางไกลได้ยากกว่าย่าน VHF

ในขณะเดียวกันก็เป็นจุดเด่น  ด้วยสายอากาศเล็กและเบาเมื่อรับสัญญาณได้  ก็จะได้สัญ

ญาณที่ชัดเจนกว่า(เพราะระยะทางใกล้กว่า) อีกทั้งสามารถใช้โทนโค้ดและโทน DTMF

สำหรับการเลือกติดต่อ เลือกรับฟังได้ ทำให้ 80 ช่องความถี่นี้สามารถแบ่งปันกันใช้ได้

มากขึ้น ตามหลักการของกิจการวิทยุความถี่ประชาชน

  วิทยุสื่อสารย่านนี้มีผู้ใช้งานมากมาย แบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ

    1)  ประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้ติดต่อพูดคุย หามิตร

    2)  ประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้ประสานงานกันในครอบครัว

    3)  องค์การทางธุรกิจ หรือโรงงาน

    4)  องค์กรอาสาสมัครต่างๆ

 

 

กฎหมายเกี่ยวกับการใช้งาน หรือมีใช้วิทยุสื่อสาร

1)  กฎหมายกำหนดว่า เมื่อซื้อวิทยุแล้วจะต้องขอใบอนุญาตใช้วิทยุสื่อสาร

      การขออนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลข เรียกว่า “ใบอนุญาต” ซึ่งค่าใบอนุญาต
   เครื่องละ 535 บาท (รวมภาษี 7%) ใช้ได้ตลอดอายุของเครื่อง

2) หากต้องการตั้งเสาสูง ติดสายอากาศเพื่อให้ส่งได้ไกลหรือติดสายอากาศรถยนต์
      จะต้องขอใบอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลข เรียกว่า     “ ใบอนุญาตตั้งสถานี
ค่าใบอนุญาต1,000 บาท ต่อ 1 บ้านหรือรถ 1 คันใช้ได้จนกว่าจะเปลี่ยนรถ หรือย้าย
บ้านซึ่งต้องขออนุญาตใหม่ ส่วนหลักฐานในการขอใบอนุญาต คือสำเนาบัตรประชา
ชน สำเนาทะเบียนรถ หรือสำเนาทะเบียนบ้านและแผนที่บ้านคร่าวๆ ถ้าชื่อในทะเบียน
บ้านหรือทะเบียนรถไม่ใช่ของผู้ขอจะต้องมีใบยินยอมจากผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของ

3) ห้ามใช้เครื่องขยายกำลังส่ง หรือ เพิ่มกำลังส่ง หรือ “ บูสเตอร์ ”
   เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังก่อให้เกิดการรบกวนอย่างแรง เพราะมีการซอย
ออกเป็น 80 ช่องโดยขนาดของช่องเล็กมากหากใช้กำลังส่งสูงเกินไปจะทะลุข้ามช่อง

4) ห้ามใช้การรับส่งต่างความถี่ (Duplex)
    และห้ามใช้สถานีทวนสัญญาณ ( Repeater)

5) ทางราชการอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุซีบี 78 และ 245 MHz.
     เพื่อความสะดวกของประชาชนทั่วไป โดยจัดระดับความสำคัญไว้เป็นอันดับสอง ดังนั้น

รัฐไม่คุ้มครองการรบกวน
       หมายความว่า หากมีปัญหาในการใช้งานหรือเกิดการรบกวนในความถี่ประชาชน
จะต้องดำเนินการหาวิธีแก้ไขเองแต่ถ้าการใช้วิทยุซีบี     ก่อให้เกิดการรบกวนต่อข่าย
งานอื่นรัฐมีสิทธิ์สั่งให้แก้ไขการรบกวนนั้น ถ้าแก้ไขไม่ได้ รัฐมีสิทธิ์สั่งยกเลิกการอนุญาต
ให้ใช้วิทยุซีบีสิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้ใช้วิทยุสื่อสารซีบีทุกคน  ต้องมีความรับผิดชอบต่อส่วน
รวมโดยทำตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด   ต้องช่วยกันระมัดระวังในการใช้ความถี่เพื่อให้
ความถี่นี้อยู่ให้เราได้ใช้นานๆและให้เกิดประโยชน์ต่อทุกคนอย่างเสมอภาคกัน



  ทุกคนมีสิทธิ์เท่าๆ กันในการใช้งานทุกช่องความถี่
     ไม่มีใครมีสิทธิ์ยึดช่องใดช่องหนึ่งเป็นของตัวเอง ไม่ว่าเราเป็นใคร ใหญ่โตขนาดไหน
ก็ไม่มีสิทธิ์ไล่ผู้ที่เข้ามาใช้ความถี่ร่วมในช่องนั้น ดังนั้นทุกคนจะต้องใช้หลักถ้อยทีถ้อยอาศัย
แบ่งกันใช้ หากความถี่ไม่ว่าง ให้รอหรือเปลี่ยนใช้ช่องอื่นที่ว่างหรือ หากในช่องนั้นกำลังมีการประสานงานอยู่ก็ไม่ควรเข้าไปขัดจังหวะ


 ความถี่นี้ทางราชการไม่ได้ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของประชาชน
      เพียงแต่อนุญาตให้ใช้ในขณะนี้  หากมีความจำเป็นทางราชการอาจะเรียกคืน เพื่อจัดสรรให้กับหน่วยงานที่มีความจำเป็น ผู้ใช้ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ หรือเรียกร้อง
ขอค่าชดเชยความเสียหาย


6) การทำผิดกฎหมายวิทยุสื่อสารมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
     หรือจำคุก 5 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ


7) การใช้ช่องย่อย ( DTMF CTCSS DTS ฯลฯ)
     เพื่อติดต่อเฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่เป็นการเก็บความลับ กลุ่มผู้ใช้ที่เข้ารหัสช่องย่อยนั้นจะไม่ได้
ยินคนอื่นเหมือนกับการปิดหูตัวเองไว้ เปิดช่องให้ฟังเฉพาะพวกเดียวกัน แต่ผู้ที่ไม่ได้เข้ารหัส
ช่องย่อยไว้ก็จะไม่สามารถได้ยินทุกคนที่ใช้ความถี่นั้น รวมทั้งได้ยินผู้ที่ใช้ช่องย่อยด้วยหากมี
การใช้ช่องย่อยในความถี่ใด ก็จะรบกวนผู้อื่นที่ไม่ได้ใช้ช่องย่อยโดยไม่รู้ตัว  แต่ถ้าทุกคนใน
ความถี่ช่องนั้นใช้ช่องย่อยทั้งหมดจะไม่เกิดการรบกวนกันเลย ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดช่วง
ความถี่เพื่อใช้ช่องย่อยเฉพาะ

วิทยุเครื่องแดงขาดใบอนุญาตปรับ 1 แสนบาท

      จากข้อมูลของสำนักงานกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ นับจากเดือนกันยายน 2548
ย้อนกลับไป5 ปี มียอดนำเข้าของเครื่องวิทยุสื่อสาร กว่า 6 แสนเครื่อง แต่มียอดการขาย
ขอใบอนุญาตใช้เครื่องวิทยุสื่อสารเพียงประมาณ 1 แสนเครื่องเท่านั้น 

     นายประทีป สังข์เที้ยม   พนักงานปฏิบัติงานขั้นสูง สำนักงาน กทช.จึงฝากเตือนนัก
วิทยุภาคประชาชนที่ใช้เครื่องแดง CB245 ว่าให้มาขอใบอนุญาตมีใช้จาก กทช.หรือให้
ร้านค้าเป็นตัวแทนดำเนินการได้ ซึ่ง เครื่องวิทยุใดๆ นั้น    เนื่องจากการใช้วิทยุสื่อสาร
โดยไม่มีใบอนุญาตนั้นมีความผิดพลาดตามมาตรา 23 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1แสน
บาทหรือจำคุกไม่เกินห้าปีหรือทั้งจำทั้งปรับตามพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498จึงอยาก
จะขอเตือนผู้ใช้วิทยุสื่อสารประชาชน CB245 ในขณะนี้หากท่านไม่มีใบอนุญาตมีใช้ให้
มาขออนุญาตที่ กสทช. ทำให้ถูกต้องถูกกฎหมายดีกว่าถูกจับปรับมันไม่คุ้ม”หรือให้ร้าน
ค้าที่ท่านซื้อสินค้าเป็นผู้ดำเนินการให้ก็ได้